การตั้งชื่อโดเมนเป็นภาษาไทย : เพื่อรักษาเอกลักษณ์ท้องถิ่น และเพิ่มโอกาสแห่งการเรียนรู้
นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตเริ่มก่อตั้ง ซึ่งทำให้เครือข่ายที่มีแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้เชื่อมโยงผู้คนจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้คนนึกถึง “ชื่อโดเมน” หรือ “URL” หรือ “ชื่อเว็บไซต์” ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงตัวอักษรที่เป็นภาษาอังกฤษ และยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่า ชื่อโดเมนสามารถตั้งชื่อเป็นภาษาอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ภาษาไทย ซึ่งจะเรียกว่า การใช้、 โดเมนเนมอักขระท้องถิ่น(Internationalized Domain Name, or IDN) ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ภาษาและสคริปต์ท้องถิ่นในชื่อโดเมนนั้น ๆ ได้
จากการศึกษาในปี ค.ศ.2023 (พ.ศ.2566) พบว่าความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ในอันดับที่ 101 จาก 113[1] ประเทศที่ทำการสำรวจ โดยปัจจุบันหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ รวมถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ต้องเผชิญกับอุปสรรคนี้ทุกวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจวิธีแก้ไข เพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตเข้าถึงบ้านและสำนักงานของผู้ใช้งานเหล่านี้ได้มากขึ้น IDNs จะเป็นช่องทางที่เหมาะสม ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในท้องถิ่น เนื่องจากชื่อโดเมนที่เป็นภาษาไทยสามารถลดอุปสรรคด้านภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คนไทยมากถึง 89.5%[2] ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้สะดวกยิ่งขึ้น
ในส่วนของภาคธุรกิจ การใช้ชื่อโดเมนภาษาไทยสามารถช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์หรือธุรกิจในตลาดที่ชื่อโดเมนเป็นภาษาอังกฤษที่มีกันอย่างแพร่หลายอยู่เดิม และทำให้ธุรกิจนั้นโดดเด่น องค์กรสามารถเลือกใช้ซื่อหรืออักษรย่อในภาษาไทยเป็นชื่อเว็บไซต์อย่างเป็นทางการได้ เช่น แบ่งปันดอทไทย (baengpan.thai) เป็นแพลตฟอร์มที่จะรวบรวมผลิตภัณฑ์และบริการจากท้องถิ่น โดยเจ้าของสินค้าและบริการเหล่านี้เป็นชาวบ้านในท้องถิ่น โดยต้องการให้ใช้ชื่อโดเมนภาษาไทย เพื่อให้ลูกค้าของตนจดจำได้ง่ายขึ้น วิธีการนี้ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เครื่องมือค้นหาข้อมูลในท้องถิ่นได้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ใช้ชื่อเป็นภาษาท้องถิ่น
นอกจากนี้ ชื่อโดเมนไทยยังสามารถสร้างคุณค่าของแบรนด์ได้ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้สามารถแสดงถึงสัญลักษณ์และการให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ความภาคภูมิใจในมรดกไทย และเคารพภาษาท้องถิ่น สำหรับตลาดที่มุ่งเน้นถึงความสำคัญทางวัฒนธรรม ลูกค้าอาจจะพบว่า บริษัทที่มีชื่อเว็บไซต์เป็นภาษาไทยนั้น มีความคุ้นเคยและความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ชื่อเว็บไซต์ ภาษาไทยยังสามารถเสริมความปลอดภัยของเว็บไซต์ได้ด้วย เนื่องจากลูกค้าชาวไทยมีโอกาสน้อยที่จะตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงผ่านเว็บไซต์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเว็บไซต์ที่แท้จริง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในโดเมนที่ใช้ภาษาอังกฤษ
องค์กรของไทยบางแห่ง เช่น วัดไทยสามัคคี (วัดไทยสามัคคี.ไทย) และ กรมการแพทย์ไทย(กรมการแพทย์.ไทย) ชุมชนบ้านหลวงโหล่งขอด (บ้านหลวงโหล่งขอด.ไทย)กำลังเป็นผู้นำเทรนด์นี้ ผู้ใช้ที่เข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้แสดงความคิดเห็นว่าเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ในการค้นหาข้อมูลโดยใช้ภาษาไทยโดยตรง การเปลี่ยนไปใช้ชื่อโดเมนภาษาไทยในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต เป็นการสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจในประเทศไทยที่จะส่งเสริมการเข้าถึงระบบออนไลน์และความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีอุปสรรคบางประการต่อการนำชื่อโดเมนไปใช้ในสคริปต์ท้องถิ่นอย่างแพร่หลาย แม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะรองรับชื่อโดเมนที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แต่บางซอฟต์แวร์และ แอปพลิเคชันยังไม่สามารถรองรับได้ เนื่องจากเบราว์เซอร์และแพลตฟอร์มโซเซียลที่ผู้คนใช้ มักไม่รองรับชื่อโดเมนและสคริปต์เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น เบราว์เซอร์ไม่สามารถแสดงรูปแบบการอ่านที่ถูกต้องได้
เพื่อจุดประสงค์นี้ องค์กร ICANN (The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ซึ่งมีพันธกิจในการรักษาความเสถียรและปลอดภัยของอินเทอร์เน็ตกำลังส่งเสริมให้ชื่อโดเมนสากล (IDNs) ได้รับการสนับสนุนในทุกแอปพลิเคชันอินเทอร์เน็ต รวมถึงเบราว์เซอร์ เครื่องมือค้นหา และระบบอีเมล แนวคิดนี้เรียกว่ายอมรับสากล (Universal Acceptance, UA) ซึ่งชื่อโดเมนทั้งหมดไม่ว่าจะใช้ภาษาหรือสคริปต์ใดก็ตาม จะได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกันในแอปพลิเคชัน อุปกรณ์ และระบบที่เปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด
การยอมรับสากล (UA) สามารถรับรองได้ว่าชื่อโดเมนภาษาไทยจะใช้งานได้อย่างเต็มที่และ เข้าถึงได้ทุกที่ในโลก ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายในท้องถิ่นและทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยดิจิทัล ในขณะที่ภูมิทัศน์ดิจิทัลมีการพัฒนา ชื่อโดเมนภาษาไทยนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการรับรองการมีส่วนร่วมสำหรับคนไทยทุกกลุ่มและทุกความสามารถ[3] แนวคิดของ UA ควบคู่ไปกับการสนับสนุนที่ดีขึ้นของซอฟต์แวร์สำหรับชื่อโดเมนสากล (IDN) และการยอมรับชื่อโดเมนภาษาไทยอย่างแพร่หลายมากขึ้น จะสามารถนำไปสู่อินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมมากขึ้นใน และปลดล็อกโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับธุรกิจไทย
[1] ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำ- Bangkok Post Learning Learn English from News
[2] การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 89% ต่อครัวเรือน
[3] file.onde.go.th/assets/portals/1/ebookcategory/23_Digital_Thailand_pocket_book_EN/